0

วีลแชร์คืออะไร ?

วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วยอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนที่สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ปกติหรือผู้สูงวัยที่ไม่สามารถเดินในระยะไกลได้ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติอีกครั้ง  วีลแชร์ยังเป็นอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรงสำหรับคนดูแล ให้มีความสะดวกสบายในการดูแลผู้สูงวัย

วีลแชร์มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องซื้อวีลแชร์ 

วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วยช่วยให้ผู้สูงวัยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้งหนึ่ง ถ้าปราศจากวีลแชร์ผู้สูงวัยจะไม่สามารถไปไหนได้อย่างอิสระ เพราะด้วยสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่สามารถเดินไกลๆได้เหมือนก่อน หรือในบางคนที่เป็นผู้ป่วยอัมพาตไม่สามารถเดินได้ รถเข็นผู้ป่วยจะช่วยให้เขากลับมาใช้ชีวิตปกติได้  ความจำเป็นในการใช้วีลแชร์ของแต่ละคนต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ,ผู้ป่วยขาหัก, ผู้ป่วยอัมพาต หรือผู้สูงวัยทั่วไป แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อไหร่ที่เราควรซื้อวีลแชร์มาใช้ 

มีหลักการง่ายๆ ในการตัดสินใจดังนี้

1.คุณหมอแนะนำให้ใช้รถเข็นผู้ป่วย

2.ผู้สูงวัยไม่สามารถเดินในระยะทางไกลหรือเดินนานไม่ได้

3.ผู้สูงวัยในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัดหรือกระดูกหัก

4.ผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นอัมพาต ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง

Learn More

เลือกรถเข็นที่ใช่สำหรับคุณ

เคยไหมครับ เวลาจะซื้อวีลแชร์สักคัน ไม่รู้เลยจะเริ่มจากตรงไหน รถเข็นในตลาดมีอยู่หลายรุ่น หลายโมเดลเต็มไปหมด ราคาก็มีตั้งแต่หลักพัน หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนก็มี แต่ละรุ่นก็มีฟังก์ชันการใช้งานที่ต่างกันอีก บางรุ่นเป็นล้อเล็ก บางรุ่นเป็นล้อใหญ่ บางรุ่งน้ำหนักเบา พับเก็บได้ แต่บางรุ่นขนาดใหญ่พับเก็บไม่ได้  มีรถเข็นให้เลือกเต็มไปหมด แล้วเราจะเลือกซื้อรุ่นไหนดี ที่ตอบโจทย์การใช้งานของเรามากที่สุด  หลักการเบื้องต้นในการเลือกรถเข็นคือให้เราดูจากสภาพร่างกาย ความแข็งแรงของผู้ใช้งานเป็นหลัก รวมไปถึงคนดูแลด้วย

1.สภาพร่างกายของผู้ใช้งาน

สภาพร่างกาย ความแข็งแรงของผู้ใช้งานคือหลักการที่สำคัญที่สุดที่นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกรถเข็นผู้ป่วย โดยรถเข็นแต่ละประเภทก็จะเหมาะสมกับสภาพร่างกายผู้ใช้งานที่ต่างกันไป

1.1 วีลแชร์น้ำหนักเบา

ถ้าผู้ใช้งานมีร่างกายแข็งแรง ยังเดินได้อยู่ แต่เดินไกลๆหรือเดินนานๆ ไม่ได้ มักจะเหนื่อยง่าย รถเข็นน้ำหนักเบาจะตอบโจทย์กลับผู้ใช้งานกลุ่มนี้ที่สุด เพราะผู้สูงวัยกลุ่มนี้ ยังช่วยเหลือตัวเองได้ดี ไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตในการนั่งอยู่บนวีลแชร์เป็นระยะยาว อาจจะใช้แค่ช่วงสั้นๆ เช่นไปเดินห้าง ไปเที่ยวต่างประเทศ การใช้ชีวิตประจำวันปกติไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่บนวีลแชร์ รถเข็นน้ำหนักเบาจึงตอบโจทย์ที่สุด เพราะสะดวกสบายเวลาขนย้าย สามารถพับเก็บเข้าท้ายรถได้ เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่เป็นภาระต่อผู้ดูแล

1.2 วีลแชร์คนตัวใหญ่

ผู้สูงวัยที่มีลำตัวใหญ่หรือผู้สูงวัยที่ต้องมีคนคอยประคองหรืออุ้มในขณะเคลื่อนย้ายเข้าหรือออกจากรถเข็น วีลแชร์คนตัวใหญ่จะตอบโจทย์ผู้ใช้งานกลุ่มนี้ เนื่องจากขณะที่เรากำลังเคลื่อนย้ายผู้ใช้งาน จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเคลื่อนย้ายเช่น เคลื่อนย้ายจากรถเข็นไปเตียง เก้าอี้ หรือขึ้นรถยนต์ วีลแชร์ประเภทนี้จะมีสามารถถอดที่พักเท้าออกได้ และที่วางแขนสามารถดันไปด้านหลังได้ ช่วยลดสิ่งกีดขวางขณะเคลื่อนย้ายคนไข้ ทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายผู้สูงวัยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การถอดชิ้นส่วนออกช่วยเพิ่มพื้นที่ในวีลแชร์ ทำให้ผู้ใช้งานที่ลำตัวใหญ่นั่งได้สบายขึ้น ผู้สูงวัยที่มีรูปร่างใหญ่ น้ำหนักตัวมาก เหมาะกับรถเข็นประเภทนี้ เพราะโครงสร้างรถเข็นจะใหญ่กว่ารถเข็นน้ำหนักเบา เบาะใหญ่กว่า สามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้มากกว่า

1.3 รถเข็นปรับเอนนอน

ผู้สูงวัยกลุ่มสุดท้ายที่อาจจะเป็นผู้ป่วยอัมพาตหรือผู้ป่วยติดเตียง ผู้ใช้งานในกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนวีลแชร์เป็นหลัก ดังนั้นควรคำนึงถึงความสบายของผู้ใช้งานเป็นหลัก รถเข็นทั่วไปจะไม่ตอบโจทย์เนื่องจากไม่มีที่รองคอ การนั่งอยู่บนรถเข็นเป็นเวลานาน โดยไม่มีที่รองคอจะทำให้ผู้ใช้งานอึดอัด เมื่อยคอ รถเข็นที่ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานกลุ่มนี้คือรถเข็นปรับเอนนอน เพราะมีฟังก์ชันปรับเอนนอนที่ช่วยเปลี่ยนอริยาบถของผู้ใช้งานจากท่านั่งเป็นนอนได้ รวมไปถึงการมีที่รองคอทำให้ผู้ใช้งานนั่งได้สบาย ไม่เมื่อยคอ ที่สำคัญที่สุดคือรถเข็นปรับเอนนอน จะมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่ารถเข็นทั่วไป สะดวกต่อผู้ดูแลในการเช็ดตัว อาบน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม

1.4 รถเข็นไฟฟ้า

รถเข็นไฟฟ้าเหมาะกับผู้สูงวัยทั่วไปที่ต้องการความอิสระและความสะดวกสบายในการเคลื่อนที่ จุดเด่นของรถเข็นไฟฟ้าคือมีปุ่มควบคุม [joystick] ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนรถเข็นไปไหนได้ด้วยตนเอง และใช้เพียงแค่นิ้วในการควบคุมทิศทางของรถเข็น 

2.ขนาดล้อ

รถเข็นผู้ป่วยโดยทั่วไปจะมีสองประเภทคือ ล้อเล็กและล้อใหญ่ ข้อแตกต่างระหว่างสองประเภทนี้ก็คือ รถเข็นล้อเล็กจำเป็นต้องมีคนเข็นในการเคลื่อนที่ ขณะที่รถเข็นล้อใหญ่ผู้ใช้งานสามารถควบคุมรถเข็นได้ด้วยตนเอง ก่อนที่จะเลือกซื้อรถเข็นเราจึงควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของผู้ใช้งาน ถ้าร่างกายส่วนบนของผู้ใช้งานยังแข็งแรงอยู่ สามารถเข็นรถเข็นเองได้ และต้องการความอิสระในการใช้ชีวิต รถเข็นล้อใหญ่ก็จะตอบโจทย์ แต่หากผู้ใช้งานร่างกายส่วนบนไม่แข็งแรง ไม่สามารถควบคุมรถเข็นได้ด้วยตัวเองได้ รถเข็นล้อเล็กก็จะเหมาะสมมากกว่า 

3.บริการหลังการขายและประกันสินค้า

การซื้อรถเข็นผู้ป่วยสักคันหนึ่งไม่ต่างอะไรจากการเลือกซื้อรถยนต์ นอกจากคุณภาพและราคาแล้ว เราควรคำนึงถึงบริการหลังกายราย มีศูนย์บริการหรือเปล่า ถ้ารถเข็นมีปัญหา มีอะไหล่ มีช่างบริการหรือไม่ ทางไคโกะเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านนี้ เราจึงได้เป็นพาร์ทเนอร์กับ KARMA ที่มีศูนย์บริการหลังการขาย และอะไหล่ที่พร้อมให้บริการ สำรถเข็น KARMA จะประกันโครงสร้างรถเข็น 5 ปี และ 1 ปี สำหรับ SOMA  มีช่างผู้ชำนาญไปซ่อมถึงบ้าน [เฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล] หรือสามารถส่งรถเข็นมาที่ศูนย์ซ่อมได้]


ยินดีรับบัตรเครดิต:



มาตรฐานความปลอดภัยในการชำระเงิน


Copyright ® 2019 kaigosensei.com