0

เลือกซื้อไม้เท้าอย่างไร ให้ถูกใจวัยเก๋า [ฉบับมือใหม่หัดซื้อ]


2022-08-06 13:16:39
#ผู้สูงวัย #วีลแชร์ #รถเข็น #ไม้เท้าคนแก่ #ไม้เท้า3ขา #ไม้เท้า4ขา #รถเข็นช่วยเดิน #ไม้ค้ำยัน

เลือกซื้อไม้เท้า

ไม้เท้าคือหนึ่งในอุปกรณ์ช่วยเดินที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้สูงวัย ในตลาดมีขายไม้เท้าเต็มไปหมด ทั้งไม้เท้าทั่วไป ไม้เท้าสามขา ไม้เท้า 4 ขา ไม้ค้ำยัน ผู้สูงวัยแต่ละคนก็มีสภาพร่างกายแตกต่างกัน บางคนมีอาการกล้ามเนื้อซีกขวาอ่อนแรง บางคนกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นจากสโตรค บางคนร่างกายแข็งแรงแต่เริ่มเดินไม่คล่อง แล้วเราจะเลือกซื้อไม้เท้าอย่างไรให้เหมาะสมกับพ่อแม่เรา บทความนี้ไคโกะจะพาทุกคนไปรู้จักวิธีเลือกไม้เท้าที่ถูกต้อง รับรองว่าหลังอ่านจบ ทุกคนจะสามารถเลือกซื้อไม้เท้าที่เหมาะสมให้พ่อแม่เราได้อย่างแน่นอน 


ไม้เท้าคืออะไร

ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยเดินคือสิ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัวให้ผู้สูงวัย เป็นคู่หูผู้สูงวัยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวว่าจะหกล้ม เพิ่มความมั่นใจในการเดิน 


ไม้เท้าจำเป็นแค่ไหน ทำไมถึงควรซื้อไม้เท้า

ผู้สูงวัยเป็นวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ยืนหรือเดินเริ่มไม่มั่นคง การมีไม้เท้าช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับร่างกายรวมทั้งช่วยเป็นที่ค้ำยันให้ร่างกายทรงตัวได้อย่างมั่นคงให้คนที่บาดเจ็บหรือพิการ ประโยชน์ของไม้เท้าคือให้ความปลอดภัยเวลาที่เดินทั่วไป หรือเดินขึ้นลงบันได และป้องกันการหกล้ม


ประเภทไม้เท้า

1.ไม้เท้ามาตรฐาน / ไม้เท้าขาเดียว

ไม้เท้าขาเดียว


ไม้เท้ามาตรฐานหรือไม้เท้าสำหรับช่วยเดินขาเดียว  เป็นไม้เท้าที่มีจุดค้ำยันจุดเดียว และส่วนปลายไม้เท้าจะมีแค่จุดเดียวที่สัมผัสพื้นผิว 


เหมาะกับใคร: เหมาะกับกลุ่มผู้สูงวัยที่มีปัญหาสุขภาพทั่วไป แต่มีอุปสรรคในการทรงตัวอยู่บ้าง

ไม่เหมาะกับใคร: ไม่เหมาะกับผู้สูงวัยที่เป็นสโตรค,ผู้สูงวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือผู้สูงวัยที่ต้องการไม้เท้าที่เพิ่มความมั่นคงเป็นพิเศษ 


Tips : วิธีถือไม้เท้าที่ถูกต้องคือถือไม้เท้าในด้านที่ร่างกายไม่อ่อนแรงเพราะทำให้เราควบคุมได้ง่ายและจุดศูนย์ถ่วงอยู่ในแกนกลางซึ่งทำให้ไม่ผู้สูงวัยหกล้ม

2.ไม้เท้าสามขา / ไม้เท้า4ขา 

ไม้เท้า4ขา

ไม้เท้า3ขาหรือไม้เท้า 4 ขาเป็นไม้เท้าที่ให้ความมั่นคงได้มากกว่าไม้เท้ามาตรฐาน เนื่องจากส่วนปลายไม้เท้าสัมผัสกับพื้นผิวหลายจุด

เหมาะกับใคร: เหมาะกับกลุ่มผู้สูงวัยที่พักฟื้นจากสโตรค , ผู้สูงวัยที่มีน้ำหนักตัวมาก,ผู้สูงวัยที่ปัญหาการทรงตัว

ไม่เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั้งสองด้าน 

Tips :  วิธีเลือกง่ายๆว่าไม้เท้าแบบไหนเหมาะสมกับผู้ป่วยคือดูจากสภาพร่างกาย,ความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรง หากไม่มั่นใจปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพที่ดูแลจะดีที่สุด


3.วอล์คเกอร์ (Walker) 

วอล์คเกอร์

วอล์คเกอร์เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีความมั่นคงมากกว่าไม้เท้าทั่วไป มักจะใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินหรือทำกายภาพหลังการผ่าตัด  วอรค์เกอร์จะอีกชื่อว่าคอกกั้นเดิน มีลักษณะเป็นโครงสี่ขา และด้านบนจะมีราวให้มือจับได้ทั้งสองมือ ซึ่งต่างจากไม้เท้าที่จับได้แค่มือเดียว วอล์คเกอร์ส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับระดับความสูงได้ วอล์คเกอร์ที่ขายอยู่ทั่วไปจะมีทั้ง วอล์คเกอร์แบบมาตรฐานและวอล์คเกอร์แบบมีล้อ


เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่ร่างกายช่วงบนแข็งแรง, ผู้สูงวัยที่ต้องการฝึกเดิน,ผู้สูงวัยที่ทำกายภาพหลังผ่าตัด

ไม่เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่ร่างกายช่วงบนอ่อนแรง, ผู้สูงวัยที่แขนข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงเนื่องจากเวลายกวอล์คเกอร์ คนไข้ต้องยกพร้อมกันทั้งสองด้าน ถ้าแขนอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งจะใช้งานได้ลำบาก 

4. รถเข็นช่วยเดิน (Rollator

รถเข็นช่วยเดิน

รถเข็นช่วยเดินหรือโรเลเตอร์คือวอล์คเกอร์ประเภทหนึ่ง ที่มาพร้อมกับล้อทั้ง4ด้าน รถเข็นช่วยเดินประเภทนี้มักจะมีล้อแบบหมุนได้รอบทิศทาง และเบรคมือเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนที่ให้กับผู้ใช้งาน และบางรุ่นอาจมีที่นั่งและตะกร้าไว้เก็บของติดมาด้วย 

เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถเดินต่อเนื่องโดยไม่พัก, ผู้สูงวัยที่ไม่จำเป็นต้องใช้วอล์คเกอร์เพิ่มความมั่นคง

ไม่เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว (Unsteady Balance)


5. ไม้เท้าเก้าอี้ (A walking stick with seat) 

ไม้เท้าเก้าอี้ไม้เท้าเก้าอี้

ไม้เท้าเก้าอี้เป็นไม้เท้าที่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้เป็นไม้เท้าและเก้าอี้ได้ในตัวเดียว ประโยชน์ของไม้เท้าเก้าอี้คือเป็นไม้เท้าค้ำยันเวลาเดินและเป็นเก้าอี้นั่งพักเวลาเหนื่อย การเดินได้อย่างต่อเนื่องมักจะเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของผู้สูงวัย เพราะผู้สูงวัยมักจะเหนื่อยง่ายหากต้องเดินระยะทางไกลๆต่อเนื่อง ข้อดีของไม้เท้าเก้าอี้  คือสามารถกางเป็นที่นั่งให้ผู้สูงวัยนั่งพักได้ทุกที่ทุกเวลา  


เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยทั่วไป, ผู้สูงวัยที่ชอบเดินป่าขึ้นเขา, ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเข่าเสื่อม

ไม่เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว, ผู้สูงวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง


6. ไม้ค้ำยัน (Crutches)

ไม้ค้ำยัน

ไม้ค้ำยันมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับผู้พักฟื้นจากการบาดเจ็บหรือผ่าตัดในช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากการพักฟื้นอาจกินเวลาหลายอาทิตย์ การที่เราสามารถเดินไปไหนได้ตัวเองได้อิสระจำเป็นต้องใช้ไม้คำยัน ไม้ค้ำยันที่ขายทั่วไปจะมีทั้ง ไม้ค้ำยันรักแร้และไม้ค้ำยันศอก

เหมาะกับใคร: คนไข้พักฟื้นจากการบาดเจ็บหรือผ่าตัดที่ต้องการอุปกรณ์ช่วยทรงตัวเล็กน้อย,คนไข้ที่ขาเจ็บเล็กน้อย

ไม่เหมาะกับใคร: ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว,ผู้สูงวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ตารางเปรียบเทียบประเภทไม้เท้า**สภาพร่างกายหมายถึงสภาพร่างกายของผู้สูงวัยในการทรงตัว, เดิน 

A คือ ผู้สูงวัยทั่วไปร่างกายแข็งแรง สามารถเดินทางไปไหนได้ด้วยตัวเอง 

B คือ ผู้สูงวัยที่พอจะทรงตัวได้บ้าง เริ่มมีปัญหาอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย

C คือ ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว มีปัญหาอ่อนแรงทั้งสองด้าน แต่ยังพอเดินได้ ทรงตัวได้บ้าง


Tips: การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินที่เหมาะสมกับตัวเอง ต้องใช้ระยะเวลา ผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงจะหกล้มอาจเหมาะกับไม้เท้าหรือวอล์คเกอร์ ในขณะที่ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถเดินได้จะเหมาะกับรถเข็นผู้ป่วยมากกว่า การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะสมสำคัญมาก เพราะถ้าเราเลือกไม่ถูกต้องนอกจากไม่ช่วยผ่อนแรงแล้วยังอันตรายกับผู้สูงวัย ถ้าหากไม่มั่นใจการปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพคือทางเลือกที่ดีที่สุด


เลือกไม้เท้าที่เหมาะสมต้องดูอะไรบ้าง  

การเลือกไม้เท้าที่เหมาะสมกับร่างกายมีความสำคัญมาก เพราะถ้าเลือกไม้เท้าที่ขนาดไม่พอดีกับสรีระ เตี้ยเกินไปหรือสูงเกินไป จะไม่ช่วยผ่อนแรง ทำให้จุดศูนย์ถ่วงเราไม่ดี และอาจทำให้หกล้มได้


1.เลือกขนาดไม้เท้าที่เหมาะสม

- เวลาถือไม้เท้าข้อศอกงอเล็กน้อย

เวลาถือไม้เท้าท่ามาตรฐาน ข้อศอกงอสักเล็กน้อยหรือทำมุมประมาณ 15  องศาจากลำตัว ไม่ตึงเกินไปและไม่ทำให้ตัวเอนเกินไป

เลือกความสูงไม้เท้าขอบคุณรูปภาพจาก Mayo Clinic

- เวลาถือไม้เท้าด้ามจับอยู่ในระดับเดียวกับข้อมือ

เวลาถือไม้เท้าท่ามาตรฐาน ด้ามจับอยู่ตรงระดับเดียวกับกระดูกเชิงกรานส่วนบนพอดี

2.เลือกประเภทไม้เท้าที่เหมาะสม

ประเมินสภาพร่างกายของผู้สูงวัยให้ถูกต้องและเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ถ้าเป็นผู้สูงวัยทั่วไป ที่มีปัญหาการทรงตัวไม่มาก สามารถทรงตัวได้ด้วยตัวเองประมาณ 50-60% ไม้เท้ามาตรฐานอาจจะเหมาะสม 


ถ้าเป็นผู้สูงวัยที่น้ำหนักมาก มีปัญหาเรื่องการทรงตัว หรือผู้ป่วยที่กำลังพักฟื้นจากสโตรค ไม้เท้าสี่ขาอาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ผู้สูงวัยที่มีปัญหาอ่อนแรงทั้งสองด้านวอล์คเกอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมมากกว่าไม้เท้า ในขณะที่ไม้เท้าจะเหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่ง 


อย่างไรก็ตาม ปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพให้ช่วยเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินที่เหมาะสมกับคนไข้คือสิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกไม้เท้าที่เหมาะสม


ทีมงานไคโกะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูล จึงให้ความสำคัญกับคุณภาพของแหล่งข้อมูลอ้างอิงเป็นอันดับแรก ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่



WRITTEN BY

 

Pichayut Ekprachayakoon  

Content Marketing Specialist 






ยินดีรับบัตรเครดิต:



มาตรฐานความปลอดภัยในการชำระเงิน


Copyright ® 2019 kaigosensei.com