0

สโตรค เรารู้อะไรบ้าง ?


2021-02-23 10:22:44

สโตรค เรารู้อะไรบ้าง ?


  1. มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 80 ล้านคนทั่วโลก
  2. คนไทยเสียชีวิตจากสโตรคหรือโรคหลอดเลือดสมองปีละ30,000 ราย
  3. 60% ของผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 70 ปี
  4. ในทุก 100,000 คนจะมีผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นมากกว่า  1,000 คน เพิ่มขึ้นทุกปี
  5. ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือกสมองมากกว่าผู้หญิง  
  6. มีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือกสมอง 5.5 ล้านคนทั่วโลกในทุกๆปี 
  7. โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ในทุกวัยไม่เว้นแม้กระทั่งเด็ก 
  8. โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ 
  9. โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นแล้ว มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ถ้าคุณเคยได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก และสำหรับคนที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีโอกาสเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีก มากกว่าคนที่ไม่เคยเป็น
  10. โรคหลอดเลือดสมองคือสัญญานเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตในอนาคต 
  11. Act Fast หรือให้ความช่วยเหลือที่รวดเร็วคือปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มอัตรารอดชีวิตและความรุนแรงของโรค 
  12. Time = Brain Damage
    เวลาคือปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะกำหนดอาการของผู้ป่วย ทุกวินาทีที่สมองขาดออกซิเจนจะทำให้เซลล์ตาย 3 ชั่วโมงคือระยะเวลาที่ผู้ป่วยควรไปถึงโรงพยาบาลนับตั้งแต่ครั้งแรกที่แสดงอาการ

    ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทันอย่างท่วงทีที่โรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากแสดงอาการ มีโอกาสที่จะเป็นอัมพาตน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาช้า  (CDC) 


โรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร ? 


ในสมองคนเราจะมีเส้นเลือดที่เป็นท่อลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ทีนี้อยู่มาวันหนึ่งในเส้นเลือดเกิดมีก้อนเลือดไปอุดตัน ( blood cot) ขัดขวางการลำเลียงเลือด ทำให้เซลล์สมองตาย ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบในโรคหลอดสมอง หรือที่เราเรียกกันว่า หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน  (Ischemic stroke) 



ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งพบได้น้อยกว่าเกิดจากเส้นเลือด artery ในสมองเกิดโป่งพองหรือ แตกออก ทำให้สมองไม่ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์สมองตาย หรือที่เราเรียกกันว่า หลอดเลือดสมองแตก ( Hemorrhagic Stroke) 




สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง 


  1. ชาหรืออ่อนแรง (Numbness)  ที่ใบหน้า, แขน หรือขา 
  2. มึนหัว, เดินไม่ค่อยได้หรือทรงตัวไม่ค่อยอยู่
  3. มีอาการปวดหัวรุนแรงฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ 
  4.  มีปัญหาในการมองเห็นฉับพลัน มองเห็นภาพครึ่งเดียว หรือมองไม่เห็นเลย
  5. มีอาการมึนงง, , มีปัญหาในการสื่อสาร พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก 


เราควรดูแลตัวอย่างอย่างไรเพื่อป้องกัน ?


  1. รับประทานผักผลไม้ และอาหารที่มีโซเดียมน้อย ควรควบคุมปริมาณโซเดียมให้ไม่เกิน 2,300 mg ต่อวัน หรือปริมาณครึ่งช้อนชา
  2. ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง  การควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในของโรคหลอดเลือดสมอง

    ** New guidelide จาก American Heart Association แนะนำว่า ความดันปกติควรอยู่ในช่วงไม่เกิน 120/88 mm Hg

    *** การตรวจวินิยฉัย ความดันโลหิตสูงควรได้รับการ ยืนยันจากคุณหมอ
  3.  รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (Healthy Weight) ซึ่งทาง CDC แนะนำว่าควรให้ค่า BMI อยู่ในช่วง 18.5 - 24.9 
  4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีทุกวัน 
  5. เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงที่จะรับควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke) 
  6. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ในปริมาณที่พอเหมาะ
    ปริมาณแอลกอฮอร์ที่สามารถบริโภคได้ต่อวันและไม่อันตรายต่อสุขภาพ (Moderate drinking)
    ผู้ชายควรดื่มอยู่ที่ 2 หน่วยหรือน้อยกว่าต่อวัน
    และผู้หญิงอยู่ที่ 1 หน่วยหรือน้อยกว่า ต่อวัน

ที่มา : CDC, Dietary Guidelines for Alcohol


ที่มา : CDC, Dietary Guidelines for Alcohol
* ปริมาณ 1 หน่วยบริโภคของแอลกออฮอร์ชนิดต่างๆ 


7. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รักษาระดับคอเลสเตอรอล , ระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต , โรคอ้วน (Obesity)ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม


8. Atrial Fibrillation - หรือเรียกว่าอาการหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว หริอเรียกย่อๆ ว่า AF เป็นภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติที่รุนแรงที่สุด โดยที่หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือเป็นสโตรคได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์และรับการรักษา

ทุกวินาทีมีความหมาย หากพบคนที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นสโตรค ยิ่งพาไปหาหมอเร็วเท่าไร ยิ่งทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น และโอกาสที่จะรักษาให้หายเป็นปกติ ไม่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์


FAST STROKE

อีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้ในการตรวจสอบว่าคนใกล้ตัวมีอาการที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ 


F = Face Dropping - ให้ผู้ป่วยลองยิ้มดู และดูว่าปากเบี้ยวไหม

A = Arm Weakness - ให้ผู้ป่วยลองยกแขนดู ดูว่า แขนตกไหม ถ้ามีอาการแขนอ่อนแรงผู้ป่วยจะไม่สามารถยกแขนขึ้นได้ 

S = Speech Difficulty - ลองให้ผู้ป่วยพูดประโยคง่ายๆ และสังเกตุดูว่ามีอาการพูดติดๆขัด พูดไม่ชัด พูดลำบากไหม 

T = Time to call 1669 - ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการเสี่ยงที่จะเป็นสโตรค ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เวลาทุกวินาทีมีค่า ยิ่งผู้ป่วยสามารถไปถึงโรงพยายาลได้เร็วเท่าไร โอกาสในการฟื้นตัวจากความพิการยิ่งมีมากขึ้น และ 3 ชั่วโมงคือเวลาทองคำที่ผู้ป่วยควรไปถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด


                                                 ที่มา : CDC 



                                              ที่มา : Webmd 



Reference

1. Know the Facts About Stroke 

2. Global Stroke Fact Sheet

3. STROKE โรคหลอดเลือดสมอง สัญญาณเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

4. โรคหลอดเลือดสมอง

5. Dietary Guidelines for Americans, 2020-2025

6.Understanding Blood Pressure Readings

7. Assessing Your Weight

8. 7 things you can do to prevent a stroke

9. Dietary Guidelines for Alcohol

10. Stroke : What you need to know 

11. ทำไม..หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation; AF

12. โรค "สโตรค" คร่าชีวิตคนไทยปีละ 3 หมื่นราย เร่งขยายเครือข่ายรักษา







ยินดีรับบัตรเครดิต:



มาตรฐานความปลอดภัยในการชำระเงิน


Copyright ® 2019 kaigosensei.com