วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วย มีความสำคัญมากสำหรับคนพิการหรือผู้สูงวัย รถเข็นผู้ป่วยคืออุปกรณ์ช่วยเคลื่อนที่ ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงวัย สามารถพาพวกท่านเดินทางท่องเที่ยวไปไหนได้อย่างอิสระ แต่สภาพร่างกายของผู้สูงวัยแต่ละคน ไม่เหมือนกัน บางคนยังพอเดินได้ บางคนกล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งผู้สูงวัยในสองกลุ่มนี้เหมาะกับรถเข็นคนละประเภทกัน รถเข็นผู้ป่วยบางประเภท เช่น รถเข็นผู้ป่วยที่ใช้ในโรงพยาบาล ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยชั่วคราว ก็จะไม่เหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องรถเข็นผู้ป่วยระยะยาวหรือบางคนตลอดชีวิต เช่นผู้ป่วยติดเตียง
การเลือกรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยคือสิ่งสำคัญที่สุด บทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับวิธีเลือกรถเข็นที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เราควรพิจารณาอะไรบ้างในการเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วย และเปรียบเทียบรถเข็นผู้ป่วยแต่ละประเภท
เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ไม่ใช่ผู้สูงวัยทุกคนมีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงวัยบางคนที่ร่างกายแข็งแรง เดินเหินได้ปกติ ผู้สูงวัยกลุ่มนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วย ผู้สูงวัยบางกลุ่มร่างกายยังแข็งแรงดี แต่เริ่มมีปัญหาในการทรงตัว ผู้สูงวัยกลุ่มนี้อาจเลือกใช้ไม้เท้า เป็นอุปกรณ์ช่วยเดิน (Mobility Aids)
คำถามก็คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อไหร่ผู้สูงวัยควรจะใช้รถเข็นผู้ป่วย ?
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้สูงวัยที่มีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วยคือกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ (orthopedic) หรือระบบประสาท (neuromuscular) อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงเกณฑ์กว้างๆเท่านั้น เรายังสามารถใช้เกณฑ์อื่นมาประกอบการตัดสินใจได้
ปกติแล้วคุณหมอจะเป็นคนประเมินสมรรถภาพทางร่างกายของคนไข้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วยหรือไม่ โดยดูจากความสามารถในการเดิน การเคลื่อนที่ของคนไข้ และถ้าคุณหมอมีความเห็นว่าคนไข้มีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วย การซื้อรถเข็นผู้ป่วยมาใช้งานย่อมเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย
ผู้สูงวัยเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการล้มมากกว่าวัยอื่น ถ้าผู้สูงวัยล้มแค่ 1-2 ครั้งตอนกำลังใช้วอล์คเกอร์อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้ดูแลต้องกังวล แต่หากผู้สูงวัยมีการลื่นล้มเป็นประจำ เพราะไม่สามารถใช้งานวอล์คเกอร์ช่วยเดินได้สะดวก อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเราควรจะเปลี่ยนอุปกรณ์ช่วยเดินที่ท่านใช้เป็นอยู่ประจำ และถ้าผู้สูงวัยมีปัญหาในการทรงตัวเวลาใช้งานวอล์คเกอร์ อาจจะถึงเวลาต้องเปลี่ยนไปใช้วีลแชร์
แต่ถ้าผู้สูงวัยยังสามารถทรงตัวได้ปกติโดยอุปกรณ์ช่วยเดินตัวอื่น เช่นไม้เท้าหรือไม้ค้ำยัน รถเข็นผู้ป่วยก็ยังคงไม่จำเป็น
วอล์คเกอร์เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับเดินภายในบ้าน แต่ถ้าหากผู้ดูแลต้องการพาผู้สูงวัยออกไปเดินนอกบ้าน เช่นออกไปเดินเล่นในสวนสาธาราณะ การมีแค่วอล์คเกอร์หรือไม้เท้าเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ เพราะผู้สูงวัยบางคน ไม่สามารถเดินทางในระยะทางไกลติดต่อกันโดยไม่พักได้ และถ้าผู้สูงวัยมักจะต้องนั่งพักเป็นประจำหลังจากใช้งานวอล์คเกอร์เพียงแค่ 1-2 นาที อาจจะถึงเวลาที่ต้องซื้อรถเข็นผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม เราอาจจะมีอุปกรณ์ช่วยเดินหลายๆแบบในบ้าน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและการใช้งานของผู้สูงวัย เช่นมีไม้เท้าหรือวอล์คเกอร์ไว้เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินในบ้าน มีวีลแชร์ไว้ใช้เวลาต้องพาผู้สูงวัยออกไปนอกบ้าน ข้อดีอย่างหนึ่งของวีลแชร์ก็คือ ผู้สูงวัยสามารถนั่งพักในขณะที่ ผู้ดูแลสามารถพาผู้สูงวัยออกไปพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศที่อยู่แต่ในบ้าน ออกไปนอกบ้าน รับแสงแดดธรรมชาติ
ในหมู่บ้านของผู้เขียน พบว่ามีผู้สูงวัยบางท่าน มีผู้ดูแลพาท่านนั่งรถเข็นผู้ป่วยออกไปรับลมในหมู่บ้าน และพอถึงจุดพักผ่อน ผู้สูงวัยก็นำไม้เท้าออกมาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเดิน
ผู้สูงวัยที่เป็นผู้ป่วยอัมพาต ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง เช่นอาจจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั้งสองด้าน หรือผู้สูงวัยที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง รถเข็นผู้ป่วยจะเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยกลุ่มนี้
ผู้สูงวัยบางกลุ่มที่อยู่ในช่วงกำลังพักฟื้นจากการผ่าตัดหรือกระดูกหัก ทำให้ในช่วงพักฟื้นไม่สามารถเดินไปไหนได้ตัวเองได้ อาจมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วยชั่วคราวในช่วงพักฟื้น ผู้สูงวัยกลุ่มนี้จะต่างจากผู้สูงวัยในกลุ่มที่ 4 เพราะว่าใช้มีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นผู้ป่วยในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น หลังจากที่ผู้ป่วยหายดีแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์อีกต่อไป ซึ่งประเภทของรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสมก็จะต่างกัน
สิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อรถเข็นผู้ป่วย คือการปรึกษาหมอหรือนักกายภาพให้ช่วยประเมินถึงความจำเป็นต่อคนไข้ ถ้าคุณหมอประเมินว่า มีความจำเป็นต้องใช้งาน เราถึงจะค่อยมาเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วย หากคุณหมอมีความเห็นว่า ยังไม่จำเป็น เราก็ยังไม่ต้องรีบตัดสินใจซื้อรถเข็นผู้ป่วย
ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดในการเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วยคือปรึกษาหมอหรือนักกายภาพให้ช่วยประเมินร่างกายของคนไข้และแนะนำรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสมให้ หลายคนคิดว่าวีลแชร์ที่ขายอยู่ในตลาดคงไม่แตกต่างกันเท่าไร เลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วยที่ราคาถูกที่สุดน่าจะดี ซึ่งถูกอยู่ครึ่งหนึ่ง เพราะร่างกายของคนไข้แต่ละคนต่างกัน บางคนร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ไม่มีแผลกดทับ หรือเป็นอัมพาต การใช้รถเข็นผู้ป่วยทั่วไป อาจจะเพียงพอกับความต้องการ แต่คนไข้บางกลุ่มเช่น คนไข้ที่มีแผลกดทับ หรือผู้ป่วยติดเตียง รถเข็นผู้ป่วยทั่วไปจะไม่เหมาะสมเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นที่จะต้องนั่งบนรถเข็นเป็นระยะเวลานาน การเลือกรถเข็นที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเหมาะสมกว่า เช่น รถเข็นผู้ป่วยแบบ http://Tilt-in-Space การเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายคนไข้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และต่อไปนี้เกณฑ์ในการเลือกรถเข็นผู้ป่วย
รถเข็นผู้ป่วยที่ขายทั่วไปอยู่ในท้องตลาดมีหลายแบบ แต่เราสามารถแบ่งรถเข็นผู้ป่วยได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือวีลแชร์แบบแมนนวลและวีลแชร์ไฟฟ้า
รถเข็นผู้ป่วยแบบแมนนวลคือรถเข็นที่ขับเคลื่อนด้วยแรงคน สามารถแบ่งได้สองประเภทคือ รถเข็นผู้ป่วยที่เคลื่อนที่ด้วยผู้ใช้งาน (self-propelled wheelchair) และรถเข็นผู้ป่วยที่เคลื่อนที่ด้วยผู้ดูแล (Transport Wheelchair)
รถเข็นผู้ป่วยแบบเคลื่อนที่ด้วยผู้ใช้งาน ล้อรถเข็นจะเป็นล้อใหญ่เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถออกแรงในการเคลื่อนที่รถเข็น ผู้ใช้งานรถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้ควรมีร่างกายช่วงบนที่แข็งแรง
รถเข็นผู้ป่วยแบบเคลื่อนที่ด้วยผู้ใช้งาน ล้อรถเข็นจะเป็นล้อใหญ่เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถออกแรงในการเคลื่อนที่รถเข็นได้ ผู้ใช้งานรถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้ควรมีร่างกายช่วงบนที่แข็งแรง
Transport Wheelchair เป็นรถเข็นที่ออกแบบให้เคลื่อนที่ได้โดยผู้ดูแลจากด้านหลัง รถเข็นประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้ในการเดินทางระยะทางไม่ไกล
คุณสมบัติที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อรถเข็นประเภทนี้
- น้ำหนักเบา
- โครงสร้างแข็งแรง
- สามารถพับเก็บได้ เหมาะสำหรับเวลาที่เดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด
- พื้นที่รองเท้าและที่พักแขนสามารถถอดออกหรือปรับระดับได้
- เบาะรองนั่งออกแบบให้ผู้ใช้งานนั่งได้สบายในระยะเวลานาน
- มีเบรคล้อเพื่อล็อกล้อเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเวลาต้องเข้าออกจากรถเข็น
ตัวอย่างรถเข็นประเภทนี้คือ รถเข็น Karma Ergo Lite รถเข็นบางรุ่นจะออกแบบให้เบรกอยู่ที่มือจับทำให้ผู้ดูแลไม่ต้องก้มตัวลงเพื่อล็อกล้อ
- ผู้ป่วยที่ยังสามารถใช้ไม้เท้าหรือวอล์คเกอร์ในการช่วยเดินได้ แต่ต้องการที่นั่งสำหรับระยะทางที่ไกลขึ้น
- ผู้ป่วยที่สามารถทรงตัวนั่งบนรถเข็นได้ดี (Strong Sitting Balance and Stability)
- ร่างกายช่วงบนยังแข็งแรง
รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าคือรถเข็นที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หรือมอเตอร์ และผู้ใช้งานสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของรถเข็นได้จากจอยบังคับ (Joy Stick)
- ผู้ป่วยที่ไม่มีแรงในการออกแรงเคลื่อนที่รถเข็นด้วยตัวเอง
- ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย (Significant Mobility loss or disability)
- ผู้ป่วยที่ต้องใส่อุปกรณ์เสริมในการใช้ชีวิตประจำวัน (Adaptive Accessories) เช่นเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา
- ผู้ป่วยที่มีความต้องการความอิสระในการเดินทาง สามารถเดินทางไปไหนได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่น ข้อดีอย่างหนึ่งของวีลแชร์ประเภทนี้คือ สามารถบังคับได้ง่ายโดย Joy Stick ไม่ต้องออกแรงในการขับเคลื่อนย้อรถเข็น จึงเหมาะกับผู้สูงวัย
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรายังสามารถแบ่งประเภทวีลแชร์ตามความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้สูงวัยได้ ดังนี้
รถเข็นผู้ป่วยประเภทนี้ มักจะเห็นได้ทั่วไปตามโรงพยาบาล ราคาจะไม่แพงเท่าไร เหมาะสำหรับการใช้งานในระยะสั้น เช่น บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แต่จะไม่เหมาะกับการใช้งานในระยะยาว เนื่องจากที่นั่งไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับสรีระผู้ใช้งานเป็นเวลานาน ทำให้เวลานั่งไปสักพัก ผู้ป่วยจะไม่สบายตัว รถเข็นประเภทนี้ส่วนใหญ่ออกแบบมาให้ที่รองเท้าและที่วางแขนเป็นแบบตายตัว ไม่สามารถปรับระดับหรือถอดออกมาได้ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องให้ผู้ดูแลช่วยในการเคลื่อนย้ายเข้าหรือออกจากรถเข็น
รถเข็นผู้ป่วยประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการใช้งานระยะยาว เนื่องจากเป็นรถเข็นที่ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ โครงสร้างจึงมีความแข็งแรงและน้ำหนักเบา พกพาสะดวก สามารถพับเก็บได้ ผู้ป่วยที่เหมาะกับรถเข็นประเภทนี้คือผู้ป่วยที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ ยังสามารถเดินได้ปกติ แต่เริ่มเดินไม่มั่นคง รถเข็นผู้ป่วยรุ่น Karma Ergo Lite ออกแบบที่นั่งโค้งเว้ารูปตัว S (S-curve design) ซึ่งมีข้อดีคือนอกจากช่วยกระจายน้ำหนักของผู้ใช้งานซึ่งช่วยให้ผู้สูงวัยสามารถนั่งรถเข็นได้นานอย่างสบาย ยังช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยไถลตัวไปข้างหน้า (ผู้สูงวัยบางคนกล้ามเนื้อด้านหลังจะไม่แข็งแรง ทำให้เวลานั่งบนรถเข็นจะทรงตัวไม่ค่อยอยู่ และมีความเสี่ยงที่ตัวจะไถลไปด้านหน้า ตกจากรถเข็น)
รถเข็นผู้ป่วยประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้ที่วางแขนและที่วางเท้าสามารถถอดออกได้ ช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่สนเข้าหรือออกจากรถเข็นสามารถทำได้สะดวกกว่ารถเข็นทั่วไป เพราะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่นพาผู้ป่วยเคลื่อนย้ายจากรถเข็นขึ้นรถ หรือขึ้นเตียง ตัวอย่างรถเข็นประเภทนี้คือ รถเข็น Karma S Ergo-125 วีลแชร์รุ่นนี้เหมาะสำหรับผู้สูงวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง ยืนหรือเดินไม่มั่นคง มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยประคองหรืออุ้มเวลาเคลื่อนย้ายเข้าหรือออกจากรถเข็น
ในกลุ่มผู้สูงวัยที่มีปัญหาในการทรงตังเวลานั่ง รถเข็นทั่วไปอาจจะไม่ตอบโจทย์การใช้งานเพราะพนักพิงของวีลแชร์ทั่วไปจะรองรับสรีระผู้ป่วยเพียงแค่ส่วนใต้แขนและไหล่ แต่รถเข็นแบบปรับเอนได้ จะมีส่วนพนักพิงศรีษะที่ช่วยรองรับศรีษะและร่างกายส่วนบน
รถเข็นผู้สูงวัยแบบ Tilt-in-Space ดียังไง เหมาะกับผู้สูงวัยแบบไหน?
ฟังก์ชันแบบ Tilt-in-Space คือฟังก์ชันที่สามารถปรับเอนไปด้านหลังได้ ข้อดีคือการเปลี่ยนท่านั่งให้ผู้ป่วยเอนไปด้านหลังจะช่วยกระจายแรงกดทับจากสะโพกไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับและป้องกันการปวดหลัง รถเข็นผู้ป่วย Karma VIP-515 คือรถเข็นผู้ป่วยที่มีฟังก์ชัน Tilt-in-Space สามารถปรับเอนที่นั่งเป็นมุม 0-35° เหมาะกับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และมีความจำเป็นต้องนั่งอยู่บนเข็นในระยะยาว หรือผู้ป่วยกล้ามที่กล้ามเนื้อหลังอ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวเวลานั่งอยู่บนวีลแชร์ทั่วไปได้
ฟังก์ชันแบบปรับเอนนอนได้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารนอนราบลงบนรถเข็นซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสบายให้กับผู้ป่วยแล้วยังช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือเช็ดตัวผู้ป่วยได้สะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งรถเข็นผู้ป่วยทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ รถเข็นรุ่นนี้ไม่ได้จำกัดการใช้งานเฉพาะผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไมได้ แต่ผู้สูงวัยทั่วไปก็สามารถใช้ได้ เนื่องจากฟังก์ชันที่ปรับเอนนอนได้ จะช่วยเพิ่มความสบายให้กับผู้ใช้งาน
NOTE: เราแนะนำให้คุณปรึกษาและขอคำแนะนำจากคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัด ในการเลือกซื้อวีลแชร์เพื่อให้คุณสามารถเลือกซื้อวีลแชร์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายผู้ป่วย
วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วยสามารถแบ่งหลักๆ ได้อยู่ 2 ประเภทคือ วีลแชร์แมนนวล และวีลแชร์ไฟฟ้า สิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วยคือสภาพร่างกายหรือความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (Degree of Mobility) ของผู้สูงวัย ถ้าผู้ป่วยร่างกายยังแข็งแรงดีและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับหนึ่ง การเลือกซื้อวีลแชร์แบบแมนนวลก็น่าจะเพียงพอแล้ว ถ้าผู้ป่วยร่างกายแทบจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย และต้องการเดินทางเป็นประจำ รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าก็จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในการเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วยให้เหมาะสม ข้อที่สำคัญที่สุดคือ ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่ดูแลผู้ป่วย
ประเภทรถเข็น | ราคา | เหมาะกับใคร | สภาพร่างกาย | ตัวอย่างรถเข็น |
รถเข็นผู้ป่วยทั่วไป | 2,000-5,000 | - ผู้สูงวัยทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้วีลแชร์ในช่วงเวลาสั้นๆ | A | |
รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า | 20,000-200,000 | - ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย - ผู้สูงวัยกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีแรงเคลื่อนรถเข็นด้วยตัวเองได้ - ผู้สูงวัยที่ต้องการเดินทางอิสระ | B,C | |
Transport Wheelchair | 5,000-15,000 | - ผู้สูงวัยทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้วีลแชร์ระยะยาว และต้องการคนดูแลเป็นคนเข็น | A-,B | |
Self-propelled Wheelchair | 5,000-15,000 | -ผู้สูงวัยที่ร่างกายช่วงบนแข็งแรง และสามารถเข็นรถเข็นด้วยตัวเองได้ | A | |
Transfer Wheelchair | 7,000-17,000 | -ผู้สูงวัยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องมีผู้ช่วยในการดูแล -ต้องการความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าหรือออกจากรถเข็น เช่นจากเตียงไปรถเข็น หรือขึ้นลงรถ | B,C | |
Tilt-in-Space Wheelchair | 20,900 | -ผู้สูงวัยที่มีปัญหาแผลกดทับ -ผู้สูงวัยกล้ามเนื้อหลังอ่อนแรง -ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ -ผู้สูงวัยที่มีปัญหาทรงตัวเวลานั่ง | C | |
Reclining Wheelchair | 28,000-34,000 | -ผู้สูงวัยที่มีปัญหาแผลกดทับ -ผู้สูงวัยกล้ามเนื้อหลังอ่อนแรง -ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ -ผู้สูงวัยที่มีปัญหาทรงตัวเวลานั่ง -ผู้สูงวัยทั่วไปที่ต้องการความสบายเป็นพิเศษบนรถเข็น | B,C |
***สภาพร่างกาย
A คือ ผู้สูงวัยทั่วที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี แต่เหนื่อยง่ายเวลาต้องเดินในระยะทางที่ไกล หรือมีความรู้กลัวจะหกล้ม
B คือ ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองได้ระดับหนึ่ง ยังพอเดินได้ นั่งได้ กินข้าวเองได้ แต่จำเป็นต้องมีผู้ดูแล
C คือ ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรือผู้ป่วยติดเตียง
*** ตารางเปรียบเทียบเป็นเพียงการให้ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น การขอคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อแนะนำรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนไข้คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ทีมงานไคโกะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูล จึงให้ความสำคัญกับคุณภาพของแหล่งข้อมูลอ้างอิงเป็นอันดับแรก ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
WRITTEN BY
Pichayut Ekprachayakoon
Content Marketing Specialist