0

5 วิธีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่ต้องอุ้ม


2022-06-03 15:20:19
#สินค้าผู้สูงวัย #การดูแลผู้สูงวัย #รถเข็นผู้ป่วย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดูแลผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นับวันยิ่งเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ใครที่อยู่ในวัยที่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่วัยเกษียน และต้องเดินทางพาพวกท่านไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล จะเข้าใจดีว่าการอุ้มผู้สูงวัยขึ้นลงจากรถ หรือเข้าออกจากรถเข็น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ 


ไหนจะความทุลักทุเลในการเคลื่อนย้ายคนไข้ขึ้นลงจากรถ 

ไหนจะความกังวลกลัวท่านพลัดตกจากการอุ้ม

ไหนจะความปวดหลังที่เกิดขึ้นจากการอุ้ม และถ้าอุ้มไม่ดี ก็อาจทำให้คนที่ถูกอุ้มบาดเจ็บได้ 

ทุกท่านคงจะเคยคิดอยู่ในใจว่า จะดีกว่าไหมนะ ถ้ามีอุปกรณ์ที่ช่วยให้การอุ้มเป็นเรื่องง่ายๆและปลอดภัย


วันนี้ไคโกะอยากมาแบ่งปัน 5 อุปกรณ์ดีดีที่ช่วยทำให้การดูแลคนไข้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ต้องอุ้ม


1. ผ้ายกตัวผู้ป่วย, เบาะยกตัวผู้ป่วย 


วิธีแรกเหมาะสำหรับคนไข้ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง(Partially Dependent) คนไข้ที่ผู้ดูแลสามารถประคองให้อยู่ในท่านั่งได้ และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative) 


เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปรถเข็น , จากรถเข็นขึ้นลงรถ


จากเตียงไปรถเข็น 

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหันข้าง และ ม้วนผ้ายกตัวครึ่งหนึ่งสอดเข้าไปใต้ผู้ป่วย

2.พลิกตัวผู้ป่วยไปอีกข้าง พร้อมทั้งคลี่อีกครึ่งซีกที่เหลือ

3. จัดท่าให้ผู้ป่วย หันไปด้านหน้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยนั่งอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางผ้ายกตัวยก และกระชับกับผ้า ก่อนที่จะยกผู้ป่วยขึ้น 


จากรถเข็นขึ้นรถ 

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งในตำแหน่งกึ่งกลาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผ้ายกตัวผู้ป่วยกระชับกับตัวผู้ป่วย ก่อนจะทำการยกตัวผู้ป่วยขึ้น

2.ยกตัวผู้ป่วยขึ้น โดยจัดตำแหน่งให้ผู้ป่วยหันไปด้านหน้า

3.หมุนผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งบนรถที่เหมาะสม


** คำแนะนำ เวลายกผู้ป่วยขึ้นรถ ควรยกผู้ป่วยให้นั่งอยู่เบาะรถด้านหน้า ข้างคนขับ และก่อนก่อนยกทุกครั้งควรเลื่อนเบาะรถไปข้างหลังให้สุด จะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเคลื่อนย้ายและเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น


2.  รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เหมาะสำหรับผู้ป่วยหลายประเภท ตั้งแต่ผู้ป่วยพักฟื้นจากการผ่าตัด, ผู้ป่วยที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไปจนถึงผู้ป่วยติดเตียง ข้อดีของรถเข็นประเภทนี้คือ สามารถใช้งานได้หลายจุดประสงค์ ทั้งเป็นรถเข็นเคลื่อนย้ายคนไข้ รถเข็นนั่งถ่าย รถเข็นในบ้าน และรถเข็นอาบน้ำ 


ปัญหาอย่างหนึ่งที่ไคโกะได้ยินมาจากผู้ดูแลผู้สูงวัยในบ้านคือ การอุ้มคนไข้จากเตียงไปรถเข็นเพื่อพาพวกท่านไปอาบน้ำ ไปเข้าห้องน้ำ และปัญหาที่เจอบ่อยๆก็คือ การปวดหลังของผู้ดูแลเนื่องจากต้องอุ้มผูัสูงวัยทุกวัน รถเข็นคันนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ เนื่องจากถูกออกแบบให้มาที่นั่งเปิดออกด้านข้างได้ จึงสามารถนำรถเข็นประชิดไปที่เตียง และสอดที่นั่งเข้าใต้ก้นของคนไข้ เพียงเท่านี้คนไข้ก็สามารถขึ้นไปนั่งบนรถเข็นได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องอุ้ม ไม่ต้องใช้ผู้ดูแลหลายคน ผู้ดูแลเพียงคนเดียว ก็เพียงพอต่อการใช้อุปกรณ์ตัวนี้ 


ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของรถเข็นตัวนี้คือการใช้งานกับผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ในบางรายที่ไม่สามารถขยับตัวได้เลย อาจจะไม่เหมาะสมกับรถเข็นตัวนี้เท่าไร เนื่องจากเวลาที่เราสอดที่นั่งเข้าไปใต้ก้น คนไข้ควรจะพอช่วยยกก้นขึ้นได้บ้าง หรือขยับก้นไปด้านซ้าย ด้านขวา จะทำให้เวลาเราสอดที่นั่งเข้าไป จะสามารถสอดเข้าไปได้ง่าย ในกรณีของผู้ป่วยติดเตียง ทางไคโกะแนะนำว่า อาจจะต้องมีผู้ดูแลช่วยเพิ่มอีก1-2 คน ในการช่วยประคองผู้ป่วย  และถ้าใช้ร่วมกับเข็มขัดยกตัวผู้ป่วย จะช่วยให้การสอดที่นั่งเข้าไปใต้ก้นคนไข้ทำได้ง่ายขึ้น โดยใช้ผู้ดูแลหนึ่งคน นำเข็มขัดยกตัวผู้ป่วยโอบรอบเอวคนไข้ ช่วยประคองให้คนไข้ ค่อยๆยกตัวขึ้นให้ก้นพ้นจากเตียง หลังจากนั้นผู้ดูแลอีกท่านหนึ่งก็ทำการสอดที่นั่งเข้าไปใต้ก้นคนไข้ หลังจากที่สามารถล็อกที่นั่งได้เรียบร้อย ค่อยๆปล่อยคนไข้ให้นั่งลงบนรถเข็น เพียงเท่านี้ก็สามารถพาคนไข้ไปอาบน้ำ ไปเข้าห้องน้ำได้แล้ว 



3.  Pivot Disc แป้นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 

(Source : https://perfecthomecare.net/patient-transfer-techniques/pivot-transfer/


วิธีที่สองใช้ Pivot Disc หรือแผ่นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย วิธีนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง (Partially Dependent)และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative)


เหมาะสำหรับกรณีไหน


เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปเก้าอี้  , เก้าอี้ไปเก้าอี้ หรือจากรถเข็นขึ้นรถ


วางแผ่นเคลื่อนย้าย (Pivot Disc ) ไว้บนพื้น และใช้เป็นตัวหมุนในการเปลี่ยนตำแหน่งคนไข้ 90 องศา

ตำแหน่งเท้าของคนไข้ควรอยู่ในจุดศูนย์กลางของแผ่น ไม่อยู่นอกแผ่น และเมื่อต้องการที่จะเคลื่อนย้ายให้คนไข้ทิ้งน้ำหนักลงบนแผ่น และใช้แผ่นเป็นจุดหมุนเพื่อเคลื่อนย้าย (Reposition) สามารถใช้เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนย้ายคนไข้

คำแนะนำ เราสามารถใช้ Pivot Disc ร่วมกับ เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วยได้สำหรับคนไข้บางรายที่ต้องการให้คนช่วยพยุง โดยผู้ดูแลสามารถใช้เข็มขัดพยุงตัว ช่วยพยุงตัวคนไข้จากตำแหน่งนั่ง มาตำแหน่งยืน และใช้ Pivot Disc เป็นตัวเปลี่ยนตำแหน่ง (Reposition) คนไข้ 

วิธีนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก , ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้


4. Resident Lifting ( เครื่องยกผู้ป่วย)

 

วิธีที่สามใช้เครื่องยกผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็น วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย( Totally Dependant)  เช่นผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยอัมพาต

เหมาะสำหรับกรณีไหน ?


เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปรถเข็น


 5. เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย (Transfer Gait Belt)

 

การใช้เข็มขัดพยังตัวผู้ป่วยช่วยพยุงผู้ป่วย จะเหมาะสมสำหรับคนไข้ที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง (Partially Dependent) พอทรงตัวได้  และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative) 

ไม่เป็นอัมพาตหรือคนไข้ติดเตียง  วิธีนี้จะไม่เหมาะกับคนไข้ที่พึ่งผ่านการผ่าตัดหลังหรือผ่าตัดช่องท้องมา 

การใช้งาน

เวลาใช้งานอุปกรณ์ จะใช้ผู้ดูแลประมาณ 1-2 คน เราจะไม่ออกแรงกระทำยกผู้ป่วยขึ้นมาตรงๆ แต่จะออกแรงดึงเพื่อเป็นตัวช่วยในการพยุงผู้ป่วยขึ้นมา เช่น เคลื่อนย้ายคนไข้จากตำแหน่งในท่านั่ง เป็นท่ายืน หรือเคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปยังรถเข็น


เราสามารถใช้เข็มขัดยกตัวผู้ป่วยร่วมกับรถเข็นเคลื่อนย้ายคนไข้ เพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายคนไข้ง่ายขึ้น 

เหมาะสำหรับกรณีไหน ?

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปเก้าอี้ , เก้าอี้ไปเก้าอี้หรือจากรถเข็นขึ้นรถ

วิธีนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก , ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้



WRITTEN BY

 

Pichayut Ekprachayakoon  

Content Marketing Specialist

ยินดีรับบัตรเครดิต:



มาตรฐานความปลอดภัยในการชำระเงิน


Copyright ® 2019 kaigosensei.com