0

โรคหัวใจและหลอดเลือด เรารู้อะไรบ้าง


2021-02-26 10:17:59
#โรคในผู้สูงวัย #โรคหัวใจ #โรคหลอดเลือดสมอง #Stroke

โรคหัวใจและหลอดเลือด เรารู้อะไรบ้าง ?


  1. โรคหัวใจและหลอดเลือดหรือที่เรียกว่า Cardiovascular disease (CVDs) เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในทั่วโลก 
  2. ในปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจาก CVDs 17.9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 31% ของสาเหตุการตายทั้งหมดทั่วโลก 
  3. มากกว่า 3 ใน 4 ส่วนของผู้เสียชีวิตจากโรค CVDs เกิดขึ้นในประเทศรายได้ต่ำ - รายได้ปานกลาง (low - middle income countries) 
  4. โรคหัวใจและหลอดเลือดส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น
    อาหารการกิน , การสูบบุหรี่, โรคอ้วน(obesity), การออกกำลังกาย, การดื่มแอลกอฮอล์
  5. Cardiovascular Disease  และ Heart Disease (โรคหัวใจ) ที่จริงแล้วมีความหมายใกล้เคียงกัน เป็นคำพูดกว้างๆที่ใช้พูดถึงโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจและหลอดเลือด เพียงแต่ โรคหัวใจจะพูดเจาะจงไปถึงโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ในขณะที่ Cardiovascular Disease  จะรวมไปถึงโรคที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดด้วย 
  6. สาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดคือ ก้อนไขมันเล็กๆรวมตัวกันกลายเป็น Plaque ฝังอยู่ในผนังหลอดเลือดซึ่งไปขัดขวางการลำเลียงไปส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น สมอง, หัวใจ 
  7. คอเลสเตอรอลคือตัวการสำคัญ แต่ไม่ใช่คอเรสตอลรอลทุกตัวเป็นตัวร้าย คอเลสเตอรอลตัวร้ายที่ทำให้เกิด Plaque คือ LDL คอเลสเตอรอลตัวดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคคือ HDL 
  8. วิธีป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยและห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ปลา, ผักผลไม้, ข้าวกล้อง, นมไขมันต่ำ , ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, ไม่สูบบุหรี่, ควบคุมน้ำหนักให้ช่วง BMI 18.5-24.9 kg/m2 



อะไรคือโรคหลอดเลือดหัวใจ?


เมื่อพูดถึง Cardio คนทั่วไปจะนึกถึงการออกกำลังกายแบบ Cardio เช่น เต้นแอโรบิค, วิ่ง, ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งรากศัพท์ของคำว่า Cardio แปลว่า หัวใจ ส่วน Vascular หมายถึงหลอดเลือด ( Blood Vessels) ในร่างกาย 


Cardiovascular diseases หรือ CVDs คือกลุ่มอาการของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยหลายอาการ อาทิเช่น


  1. Coronary heart disease (CAD)  หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ในตำแหน่งหลอดเลือดแดงที่มาหน้าที่ลำเลียงไปยังหัวใจโดยตรงหรือก็คือเส้นหลอดเลือด coronary arteries ซึ่ง Plaques ตัวนี้เกิดขึ้นจากการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดเดือง ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดแคบลง และไปขัดขวางการลำเลียงเลือดและทำให้เลือดที่ไหลเวียนไปกล้ามเนื้อหัวใจถูกจำกัด ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้หัวใจวาย (Heart Attack)

  2.  Cerebrovascular disease หรือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เราเรียกกันว่า Stroke ที่มีก้อนเลือด (Blood Clot) ไปขัดขวางการลำเลียงเลือดไปยังสมอง ซึ่งถ้าคนไข้ไม่สามารถได้รับการรักษาหรือได้รับยาละลายลิ่มเลือดได้ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็น อัมพาต หรืออัมพฤกษ์

  3.  Peripheral Arterial Disease (PAD) หรือ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน คืออาการที่เส้นเลือดแดงตีบและอุดตันไม่สามารถลำเลียงเลือดได้มากพอ ส่งไปยังบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนแขนและขา

  4.  Rheumatic heart disease คืออาการที่ลิ้นหัวใจได้รับความเสียหายจากโรคไข้รูมาติก ไข้รูมาติกเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า streptococcus ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน (Connective Issue) ในร่างกาย โดยเฉพาะ หัวใจ, ข้อต่อ ,ผิวหนัง หรือสมองรวมไปถึงลิ้นหัวใจ ซึ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น และมีโอกาสที่จะเกิดอาการหัวใจวายได้

  5. Congenital heart disease หรือ โรคหัวใจแต่กำเนิด เป็นอาการผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด  

  6. Abnormal Heart Rhythms ( Arrhythmias) หรือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ  ปกติแล้วหัวใจคนเราจะเต้นอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาทีเวลาหยุดพัก,  100-120 ครั้งต่อนาทีเวลาวิ่ง , 50-60 ครั้งตอนนอน  แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมีอาการหัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้ากว่าปกติ

    เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเช่น ปอด, หัวใจ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้อวัยยะเหล่านั้นทำงานได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้อวัยวะเสียหายหรือหยุดการทำงาน

  7. Deep vein thrombosis and pulmonary embolism 
    Deep vein thrombosis (DVT)   หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก ในร่างกายคนเราเมื่อเลือดไหลเวียนช้าลงจนทำให้เกิดการจับตัวเป็นกลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดหรือที่เราเรียกกันว่า " Blood Clot " หรือ ลิ่มเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณขา ซึ่งถ้ามันหลุดไปถึงบริเวณปอด และไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดหรือที่คุณหมอเรียกกันว่า Pulmonary embolism หรือภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ซึ่งอันตรายและมากและมีโอกาสที่จะทำให้เสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพูดถึง Cardiovascular disease จะกล่าวถึง 3 โรคหลักๆ คือโรคหลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง (Stroke), โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันซึ่งเกิดขึ้นจากการแข็งตัวของหลอดเลือด ( Atherosclerosis) 

Atherosclerosis หรือสภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไขมันก้อนเล็กๆ ที่มีคอเลสเตอรอลอยู่ในตัว สะสมตัวกันที่ผนังหลอดเลือด  เมื่อเวลาผ่านไปก้อนไขมันตัวนี้ใหญ่ขึ้นและแข็งตัวขึ้นจนกลายเป็น Plaque  ซึ่ง Plaque นี้เองที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน Cardiovascular Disease เพราะมันเป็นตัวไปขัดขวางการลำเลียงเลือด เช่น ถ้าเกิดในตำแหน่ง Corona arteries ก็จะขัดขวางเลือดที่ไหลเวียนเข้ามาเลี้ยงหัวใจ ถ้าไปขัดขวางในตำแหน่งสมองก็ทำให้เกิด Stroke เป็นต้น


         



อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงพอจะสรุปได้ว่า คอเลสเตอรอลคือต้นเหตุทั้งหมดที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจที่ดีที่สุดคือหยุดรับประทานอาหารที่มี คอเลสเตอรอล.... ซึ่งจริงๆเข้าใจถูกแค่ครึ่งเดียวนะครับ


อันที่จริงแล้วคอเลสเตอรอลมีทั้งตัวดีและตัวไม่ดี หรือที่เราเรียกกันว่า LDL กับ HDL ซึ่ง DL นี้ย่อมาจาก density lipoprotein หรือเรียกว่า " ไลโพโปรตีน "

ไลโพโปรตีนจะทำหน้ารับส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ต่างๆในร่างกาย

LDL (low-density lipoprotein) หรือที่เราเรียกกันว่าคอเลสเตอรอลตัวร้าย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมตัวของไขมันในหลอดเลือด และก่อให้เกิด Plaque เกาะตามหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงในโรคหัวใจ, Stroke และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน


HDL (high-density lipoprotein) หรือที่เรียกกันว่าคอเลสเตอรอลตัวดี เพราะว่าการที่ร่างกายมีปริมาณ HDL ที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันจากหัวใจวายและ Stroke  การมีระดับ  HDL สูงในร่างกายช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

เป็นเพราะว่า HDL จะเป็นตัวนำคอเลสเตอรอลตัวร้ายหรือ LDL ไปทำลายที่ตับ 





ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้ไกลห่างโรคหัวใจ ?

1. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy Diet)



สมาคมโรคหัวใจของอเมริกา (American Heart Association) ได้แนะนำไลฟ์สไตล์ในการรับประทานอาหารดังต่อไปนี้ 


อาหารที่ควรรับประทาน


 แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมั่นอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาทิเช่น

  1.  รับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลาย
  2.  Whole-grain food เช่น Whole grain bread, ธัญพืช, พาสต้า, ข้าวกล้อง
  3.  นมพร่องมันเนย (Fat-free,1% and low-fat milk) 
  4.  เนื้อจากสัตว์ปีกที่ไม่ติดหนังและเนื้อไม่ติดมัน ( Lean meat ) และถ้าเลือกรับประทานเนื้อแดง หรือหมู ให้เลือกซื้อเนื้อสัน (Lion) หรือเนื้อส่วนสะโพก (Round) 
  5. ปลาที่มีกรดไขมันสูง เช่น แซลมอน, ปลาเทราต์, ปลาทูน่า, และปลาซาดีน ซึ่งมีกรดไขมันโอมาก้า-3 สูงซึ่งดีต่อร่างกาย ควรรับประทานอย่างน้อย 8 ออนส์หรือประมาณ 226.80  กรัม  ต่อสัปดาห์ (ไม่ทอด) 
  6. รับประทานอาหารจำพวก ถั่ว, เมล็ดต่างๆ  ( Unsalted nuts, seeds, and legumes (dried beans or peas)
  7. น้ำมันพืชประเภท non-tropical oils เช่น น้ำมันคาโนลา, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันมะกอก (Olive oil) และ น้ํามันทานตะวัน  

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง


  1. อาหารเค็มที่มีเกลือเยอะ  American Heart Association แนะนำว่าไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 2,300 มิลลิกรัม (mgs) ต่อวัน และดีที่สุดคือไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม



  2.  ขนมหวานหรือเครื่องดื่มรสหวาน (Sugar-Sweetened Beverage) American Heart Association แนะนำว่าสำหรับผู้ชายไม่ควรบริโภคน้ำตาล เกิน 36 กรัมหรือ 9 ช้อนชา และ ไม่เกิน  25 กรัม หรือ 6 ช้อนชา สำหรับผู้หญิงและเด็ก (ตั้งแต่ 2 ขวบขึ้น)


  3.   เนื้อหมู,วัว , แกะ ที่ยังไม่ได้นำไขมันส่วนเกินออก ( Trim off as much fat as you can )
  4.  Full-Fat dairy product เช่น นมเต็มมันเยน  (Whole milk) , ครีม, ไอศครีม,เนย และชีส
  5.  โดนัท, เค้ก,คุกกี้ ที่ทำจากไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว 
  6. อาหารที่มีส่วนประกอบของ  Hydrogenated oils
  7.  Tropical Oils เช่น น้ำมันมะพร้าว,น้ำมันปาล์ม หรือ น้ำมันที่สกัดจากเนื้อในเมล็ดปาล์ม ( palm kernel oil) 
  8.  อาหารทอด

2. ไม่สูบบุหรี่


3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

น้ำหนักในเกณฑ์ที่เหมาะสมที่แนะนำโดย American Heart Association คืออยู่ในช่วง 18.5 - 24.9 kg/m2


4. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 



Reference 

1. Cardiovascular diseases (WHO)

2. Cardiovascular Diseases WebMD

3. Cardiovascular diseases (NHS)

4. ตรวจเช็กสุขภาพหลอดเลือดก่อนสาย

5. Peripheral Artery Disease (PAD)

6. Cardiovascular disease and heart disease: What's the difference?

7. Rheumatic Heart Disease

8. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Cardiac Arrhythmia 

9. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

10. About Arrhythmia

11. Coronary Artery Disease - Coronary Heart Disease

12. HDL (Good), LDL (Bad) Cholesterol and Triglycerides

13. LDL and HDL Cholesterol: "Bad" and "Good" Cholesterol

14. Shaking the Salt Habit to Lower High Blood Pressure

15. How Too Much Added Sugar Affects Your Health Infographic

16. By the way, doctor: Is palm oil good for you?

17. Body Mass Index (BMI) In Adults







ยินดีรับบัตรเครดิต:



มาตรฐานความปลอดภัยในการชำระเงิน


Copyright ® 2019 kaigosensei.com